วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

1 . ส่วนประกอบของเมนบอร์ด

               
              ส่วนประกอบของเมนบอร์ด                  เนื่องจากเมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงต้องรู้จักตำแหล่งและอุปกรณ์ต่างๆ  อุปกรณ์หลักๆ ที่สำคัญก็จะมี ซ็อกเก็ตสำหรับติดตั้งซีพียู , ซ็อกเก็ตแรม , ชิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมดบนเมนบอร์ด , หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังของเครื่อง


                 ปัจจุบันการออกแบบเมนบอร์ดจะมีการใช้สีเพื่อแบ่งแยกประเภทของซ็อกเก็ตหรือหัวต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ  เพื่อให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่ายถึงแม้ว่าสีสันบนเมนบอร์ดอาจจะแตกต่างกันไปบ้างตามแต่ละยี่ห้อของผู้ผลิตเมนบอร์ด  แต่อุปกรณ์ต่างๆ ก็จะมีอุปกรณ์หลักๆ เหมือนกัน  จึงไม่ต้องกังวลว่าอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ในเมนบอร์ดแต่ละยี่ห้อจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน



              1 . ซ็อกเก็ตพีซียู
ซ็อกเก็ตพีซียู (CPU Socket) เป็นตำแหน่งสำหรับติดตั้งซีพียู รูปแบบซ็อกเก็ตแตกต่างไป 
ตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดมาใช้งานจึงต้องตรวจสอบว่าจะนำเมนบอร์ดนั้นไปใช้กับซีพียูตัวไหนซ็อกเก็ตซีพียูที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี  4  แบบ คือ Socket 478 และ LGA 775  สำหรับPentium 4 ซีพียู Athion 64 (FX) จะใช้ Socket 754 และ Socket 939  ล่าสุดกับ Socket AM2  ซึ่งรองรับแรม DDR2 ของซีพียูจาก AMD

              2 . ชิปเซต
ชิปเซตทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมดที่มีอยู่บนเมนบอร์ด  และชิปเซตจะเป็นตัวกำหนดว่าเมนบอร์ดตัวนั้นจะใช้งานกับซีพียูตัวไหน เพราะชิปเซตแต่ละตัวจะออกแบบมาเพื่อให้รองรับการทำงานของซีพียูตัวนั้นให้มีประสิทธิภาพ  ชิปเซตบนเมนบอร์ดจะมีอยู่ 2 ตัว คือ ชิปเซต North Bridge และ South Bridge 
ชิปเซต North Bridge  ทำหน้าที่ควบคุมการรับ/ส่งข้อมูลของซีพียูและแรม  ตลอดจนสล็อตของการ์ดแสดงผล ส่วนชิปเซต  South Bridge  มีขนาดเล็กกว่า North Bridge  มีหน้าที่ควบคุมการสล็อตของการ์ด PCI , ดิสก์ไดรว์ต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ต่อพวงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคีย์บอร์ด  เมาส์ หรือพล็อตต่างๆ ที่อยู่ข้างหลังเครื่อง
       

              3 . ซ็อกเก็ตแรม
ลักษณะของซ็อกเก็ตแรมที่ทำงานในปัจจุบันมี 2 แบบคือ สำหรับแรม DDR  และ DDR2  ซึ่งซ็อกเก็ตแต่ละแบบมีร่องบากที่แตกต่างกัน ทำให้ไม่สามารถใช้งานแรมที่ผิดประเภทได้ และก็ไม่มาสรถใช้งานแรม DDR2 มาใช้งานกับเมนบอร์ดที่เป็นซ็อกเก็ต DDR ได้เช่นกัน


                4 . สล็อตของการ์ดแสดงผล
สล็อตสำหรับติดตั้งการ์ดแสดงมี 2 แบบคือ สล็อต  AGP (Accelerate Grahic) สล็อต PCI  Express ×16  ลักษณะของสล็อตทั้ง 2  แบบจะไม่เหมือนกัน เมนบอร์ดรุ่นใหม่นิยมใช้สล็อต PCI  Express ×16  ทั้งหมดแล้ว เนื่องจากประสิทธิภาพในการรับ / ส่งข้อมูลระดับ 4GB/s ซึ่งสูงกว่า AGP 8× ถึง 2 เท่า                                                                          

               5 . สล็อต PCI  (peripheral Component Interconnect)  ทำงานที่ความเร็ว  33 MHz และส่งข้อมูลที่ 32 บิต  ทำให้มีอัตรารับ/ส่งข้อมูลที่ 133  MHz/s  สล็อต PCI มีไว้สำหรับติดตั้งการ์ดที่ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น การ์ดเสียง การ์ดโมเด็ม หรือการ์ดแลน เป็นต้น

               6 . หัวต่อไดรว์ต่างๆ
        หัวต่อไดรว์จะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ หัวต่อสำหรับฟล๊อปปี้ไดรว์มีจำนวน 34 ขา (เข็มที่ 5 ถูกหักออกเพื่อป้องกันการเสียบผิด) ใช้เชื่อมต่อกับฟล๊อปปี้ไดรว์ ส่วนหัวต่อฮาร์ดดิสก์และไดรว์ซีดี/ดีวีดีปัจจุบันนิยมใช้ 2 แบบคือ
               7 . หัวต่อแบบ IDE  มีลักษณะเหมือนฟล๊อปปี้ไดรว์มีจำนวนเข็ม 40 ขา (เข็มที่ 20 ถูกหักออกเพื่อป้องกันการเสียบผิด) ปกติเมนบอร์ดจะมีหัวต่อแบบ IDE มาให้ 2 ช่องคือ IDE1 จะเรียกว่า Primary และ  IDE2 จะเรียกว่า secondary แต่ละหัวจะเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ 2 ตัวขนานกันในสายแพเส้นเดียวกัน จึงสามารถใช้อุปกรณ์ได้ทั้งหมด 4 ตัว การต่อแบบขนานนี้ทำให้อุปกรณ์ทั้ง 2 ตัวที่ต่อกับสายแพเส้นเดียวกันหน่วงการทำงานของกันและกันได้ การเชื่อต่อแบบ IDE นี้เรียกได้ว่าเป็น “เอทีเอแบบขนาน (Parallel ATA)
               
               8 . หัวต่อแบบ Serial ATA มีขนานเล็กกว่า IDE มากการรับ/ส่งข้อมูลจะใช้การต่อแบบอนุกรม การเชื่อมต่อแบบ Serial ATA (SATA) จะทำให้ข้อมูลไม่เกิดปัญหาการหน่วงของอุปกรณ์แบบเดียวกับ IDE ทั้งยังมีอัตราการรับ/ส่งข้อมูลที่สูงกว่าคือ 150 MB/s nFonce 4 Uitra/SLi เป็นชิปเซตรุ่นแรกที่สนับสนุน Serial ATA Mode 2 ที่ 300 MB/s

                10 . หัวต่อแหล่งจ่ายไฟ                                                                                                        
รูปแบบของหัวต่อแหล่งจ่ายไฟมีอยู่ 2 แบบคือ หัวต่อ ATX ที่เป็นหัวต่อหลักที่เมนบอร์ดทุกรุ่นจะต้องมี โดยเป็น ชุดจ่ายไฟหลักสำหรับเมนบอร์ด เดิมหัวต่อ ATX เป็นแบบ 20  ช่อง  (2 แถวแถวละ 10 ช่อง) แต่ปัจจุบันหัวต่อ ATX ใช้กับหัวต่อรุ่นใหม่จะเป็นแบบ ATX 24 ช่อง (2 แถวแถวละ 12ช่อง)  โดยเพิ่มตำแหน่งของการจ่ายไฟมากขึ้น 
                หัวต่อแบที่ 2 เรียกว่า ATX 12 V  หัวต่อแบบนี้จะจ่ายแรงดันไฟฟ้า 12 โวลต์เพิ่มขึ้นมาอีก 1 จุด ซึ่งเมนบอร์ดทุกรุ่น (ยกเว้นสำหรับ Athlon XP บางรุ่น) ในปัจจุบันจะต้องใช้หัวต่อ ATX 12 V นี้เพิ่มขึ้นจากหัวต่อ ATX หลักที่ต้องมีอยู่แล้วแต่แหล่งจ่ายไฟที่ต้องจ่ายในปัจจุบันจะมีหัวต่อ ATX 12 V นี้มาให้อยู่แล้วเช่นกัน

                 11 . ชิปรอมไบออส
                ชิปรอมไบออส (ROM BIOS) เป็นหน่วยความจำแบบรอม (ROM : Read Only Memory) ที่บรรจุโปรแกรมควบคุมโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่องเอาไว้ โดยไบออส  (BIOS : Basic Input Outout System)  จะทำหน้าที่ตรวจสอบอุปกรณ์ภายในเครื่องเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อจะได้เริ่มกระบวนการในการเปิดเครื่องไดอย่างถูกต้อง 
                หากไบออสตรวจพบความผิดปกติของอุปกรณ์ ก็จะส่งเสียงเป็นรหัสออกทางลำโพงของเครื่อง ทำให้รู้ได้ว่าขณะนี้เกิดปัญหากับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว วงจรของชิปไบออสจะต้องมีแบตเตอรี่ไว้คอยเก็บค่าของไบออส เพื่อไม่ให้ข้อมูลที่ตั้งค่าสูญหาไปเมื่อปิดเครื่อง และจ่ายไฟให้กับวงจรนาฬิกาของไบออสเพื่อให้นาฬิกาของเครื่องเดินตามปกติ 
                อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ปกติจะมีอายุมากกว่า 3-5 ปีขึ้นไป เมื่อใดที่เปิดเครื่องขึ้นมาแล้วหน้าจอแสดงคำว่า “Invalid CMOS Check Sum Error” แสดงว่าแบตเตอรี่ของไบออสกำลังจะหมด จึงต้องรีบหาซื้อมาเปลี่ยนใหม่เพื่อให้เครื่องทำงานได้อย่างไม่มีปัญหา


                12 . หัวต่อสายสวิตซ์ควบคุม
                ช่องเสียบสายสวิตซ์สำหรับควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์คือ ตำแหน่งของสายสวิตซ์จากด้านหน้าเคส เพื่อใช้ควบคุมการเปิด/ปิดเครื่อง หรือการรีเซตเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งรวมไปถึงหลอดไฟแสดงสถานการณ์ทำงานของเครื่องและฮาร์ดดิสก์ด้วย

                13 . พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ
                พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ ก็คือตำแหน่งต่างของหัวต่ออุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งจะอยู่ด้านหลังของเมนบอร์ดโดยหัวต่อเหล่านี้ใช้ต่อกับอุปกรณ์อย่างคีย์บอร์ด  เมาส์ เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์ที่จะนำมาใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ลักษณะของหัวต่อจะแตกต่างกันตามประเภทและการใช้งาน